สิ่งสำคัญอันดับแรก ที่ผมคิดว่าถ้าคุณสามารถก็ควรจะอัพเกรดเจ้านี่ก่อนเลย "Sound Card" หรือเรียกภาษาหรูๆในวงการว่า "Audio Interface"
ความสำคัญของเจ้า Sound Card อุปกรณ์ตัวนี้ทำหน้าที่เป็นตัวแปลงสัญญาณจากพลังงานเสียงขาเข้า กลายเป็นข้อมูลเก็บไว้ในคอมพ์ แล้วก็แปลงข้อมูลเสียงจากในคอมพ์ออกมาเป็นไฟฟ้า เพื่อส่งไปที่ลำโพงให้เราได้ยินกัน ความต่างกันระหว่าง Sound Card ราคาถูกๆทั่วๆไปกับ Sound Card สำหรับงานเสียงอยู่ที่ ค่าความหน่วงของสัญญาณหรือ Latency ซึ่งหมายถึงค่าความหน่วงที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการแปลงสัญญาณจาก Analog ไป Digital หรือจาก Digital ไป Analog หน่วยวัดของ Latency มีหน่วยเป็น milliseconds หรือ 1/1000 วินาที ค่ายิ่งน้อยหมายถึงระยะเวลาระหว่างกระบวนการแปลงสัญญาณยิ่งลดลง แต่ปัจจุบันยังไม่มี hardware หรือ chipset อะไรที่สามารถทำให้ค่านี้เป็น 0 ได้
นอกจากนี้ข้อแตกต่างระหว่าง Sound Card ยังมีเรื่องของ chip D/A, A/D converter ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียง ว่าสามารถเก็บรายละเอียดของเสียงได้ดีมีคุณภาพขนาดใหน
ข้อแตกต่างสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับ Sound Card สำหรับงานเสียงคือ ความสามารถในการต่อพ่วงกับอุปกรณ์ด้านเสียงอื่นๆ, จำนวน input - output, มี digital input - output, มี DSP chip ช่วยทำงานแทน CPU, มีช่องสำหรับ mic แบบ XLR, มี phantom power สำหรับ mic แบบ Condensor ตรงนี้มีให้คุณเลือกสรรค์ได้ตามความจำเป็น และกำลังทรัพย์
Sound Blaster Live จาก Creative Labs สำหรับงานด้าน Multimedia และ Entertainment น่าจะเป็น sound card ระดับบ้านๆที่ขายดีที่สุด และถูกแนะนำสำหรับการเอามาใช้ทำงานเสียงระดับเริ่มต้นมากที่สุด
Chaintech AV-710 แบบเดียวกับผม เป็น Soundcard ที่เน้นทางด้านการดูหนัง ใช้ chipset VIA Envy24HT-S แบบเดียวกับที่มีใช้ใน soundcard ของ M-Audio เป็นเหตุผลที่ผมซื้อ (แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะดีเหมือน soundcard แพงๆนะ)
รูปแบบของ Soundcard ในปัจจุบันมีทั้งที่เป็น card แบบ internal (PCI.PCIe) และแบบที่เป็นการเชื่อมต่อภายนอก(port USB, Firewire)
PCI Audio Interface (ขอใช้ Audio interface แล้วกันนะดูโปรดี)
หลังจาก Emu เข้ารวมร่างกับ Creative Labs ก็ได้ออกผลิตภัณฑ์ในซีรี่ส์นี้ เจ้าตัวนี้น่าจะเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าที่สุดในระดับราคาเดียวกัน
USB Audio Interface
Firewire Interface
การเชื่อมต่อแบบต่างๆที่จะพบใน Audio Interface แบ่งได้ 2 ชนิดคือ การเชื่อมต่อแบบ Analog และการเชื่อมต่อแบบ Digital
- TRS (Tip, Ring, and Sleeve) , TS (Tip, and Sleeve)
อันนี้ถ้าเห็นหน้าตาคงคุ้นเคยกันดี มันคือ แจ็คไมค์คาราโอเกะ หรือแจ็คไลน์ (6.3 mm (1/4")) ใช้ใน Audio Interface ระดับเอาจริงเอาจังขึ้นไป
และอีกขนาด 3.5 mm (1/8") ที่เราเรียกกันว่าแจ็คซาวอะเบ้าท์ พบได้ใน Sound on board จนถึง Sound Card ทั่วๆไปที่มีขายตามห้าง IT
TRS
TS
- XLR ส่วนใหญ่จะเจอในรูปแบบของแจ็คไมค์แบบมืออาชีพ หรือการเชื่อมต่อใน Mixer เป็นการเชื่อมต่อแบบที่เรียกว่า Balanced ความพิเศษของการเชื่อมต่อแบบนี้คือเราสามารถลากสายได้ยาวๆโดยที่ยังคงมีคุณภาพเสียงที่ดี มีเสียงรบกวนต่ำ เนื่องจากเป็นการส่งสัญญาณเสียงไปใน 2 เส้นทาง โดยเส้นนึงเป็นสัญญาณแบบปกติ ส่วนอีกเส้นเป็นสัญญาณที่ถูกกลับเฟส เมื่อถึงปลายทางจึงกลับเพสมาเป็นปกติ การทำเช่นนี้ทำให้ส่วนของสัญญาณรบกวนต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างสายหักล้างกันไป จึงเป็นการแก้ปัญหาเสียงรบกวนที่เกิดจากการลากสายยาวๆได้
ใน Audio Interface รุ่นใหม่ๆมักจะมีช่องต่อพิเศษแบบใหม่ เรียกว่า combo jack หรือ XLR and 1/4" TRS combo jack. คือมีความสามารถที่จะใช้ได้กับทั้งการเชื่อมต่อแบบ XLR และ TRS ในตัวเดียว
- RCA เป็นการเชื่อมต่อแบบที่น่าจะคุนเคยกันดีอีกตัวหนึ่ง พบได้ในงานด้านภาพ, วิดีโอ มี 3 เส้น เหลือง - ภาพ, แดง - เสียงขวา, ขาว - เสียงซ้าย หรือในอีกลักษณะนึงจะพบเป็นสี แดง, เขียว, น้ำเงิน สำหรับส่งภาพในงานวิดีโอแบบแยกสี
ส่วนในงานด้านเสียงจะมีเพียง 2 เส้น คือแดง - เสียงขวา และ สีอื่นๆ - เสียงซ้าย
- S/PDIF (Sony/Philips Digital Interface) ข้อมูลจาก wikipedia.org
เป็นการเชื่อมต่อเพื่อรับส่งข้อมูลแบบ Digital ที่มีข้อดีกว่าการรับส่งแบบ Analog คือ (แทบ)ไม่มีความแตกต่างระหว่างสัญญาณต้นทางและปลายทาง (ยกเว้นจะเกิดปัญหา Jitter หรือ Error)
แบ่งเป็น 2 ชนิด
- Coaxial แม้จะมีหน้าตาเหมือนกับการเชื่อมต่อแบบ RCA แต่มีจุดต่างจากการเชื่อมต่อแบบ RCA ตรงที่สัญญาณที่รับส่งเป็นข้อมูลแบบ Digital
- Optical เป็นการส่งสัญญาณ Digital ผ่านทาง Fiber Optic
ความรู้เพิ่มเติม
http://en.wikipedia.org/wiki/Audio_and_video_connector
http://www.audioholics.com/education/cables/understanding-digital-interconnects