วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551

OSC และ LFO คืออะไร

OSC และ LFO
คำ 2 คำนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องไฟฟ้า ถ้าเอาเฉพาะที่เกี่ยวกับ sound synthsis

ลองไปอ่านจาก Wikipedia ก่อนเลย
http://en.wikipedia.org/wiki/Oscillator
http://en.wikipedia.org/wiki/Oscillator_...guation%29
http://en.wikipedia.org/wiki/Electronic_oscillator

OSC from Wikipedia

An electronic oscillator is an electronic circuit that produces a repetitive electronic signal, often a sine wave or a square wave.


OSC (oscillator) หมายถึง วงจรไฟฟ้าที่ให้กำเนิดสัญญาณไฟฟ้าต่อเนื่อง โดยทั่วไปคือ sine wave หรือ square wave

OSC ใน synth ก็หมายความตามด้านบนคือเป็นส่วนที่ให้กำเนิดสัญญาณไฟฟ้าต่อเนื่อง เนื่องจาก synthesizer ในสมัยก่อนใช้วงจรไฟฟ้าในการกำเนิดเสียง เรียกว่า Analog synth รูปคลื่นที่ osc กำเนิดออกมามีทั้ง สี่เหลี่ยม (square) , สี่เหลี่ยมที่ปรับความกว้างได้ (pulse) , ฟันเลื่อย (saw) , สามเหลี่ยม (triangle) , sine และ noise หลังจากตรงนี้ทำให้ต้องมีคำอีกมากมายเกิดตามขึ้นมา เช่น VCO , DCO , Pulsewidth , VCA , VCF ซึ่งคงมีโอกาสได้พูดถึงกันต่อๆไป

LFO from Wikipedia
A low-frequency oscillator (LFO) is an electronic oscillator that generates an AC waveform between 0.1 Hz and 10 Hz. This term is typically used in the field of audio synthesizers, to distinguish it from an audio frequency oscillator.


LFO low-frequency oscillator คือ ตัวกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าแบบนึงที่ให้กำเนิดความถี่ต่ำมาก (0.1 Hz - 10 Hz) ความถี่ที่ต่ำกว่าระดับการได้ยินนี้ใช้ในการเปลี่ยนแปลงค่าอื่นๆในกระบวนการ synthesis (อธิบายยากแฮะ Scared ) เช่น การใส่ลูกคอเวลาร้องเพลง เราต้องควบคุมการสั่นของกล่องเสียง LFO ในที่นี้คือกล่องเสียงที่ควบคุมความถี่ในการสั่นลูกคอ ประมาณนี้
ใน Synth เราใช้ LFO ในการควบคุม หรือ ดัดแปลงค่าต่างๆ เรียกส่วนนี้ว่า Modulator ............






อ่า..........

เอ่อ..........




พูดยากกว่าทำแฮะ
ลองดู(ฟัง)แล้วกัน

ผมใช้เสียงจาก freeware VSTi Monolisa โดย northernbeat (Win - VSTi) ลองเล่นตามดูก็ได้



การปรับค่าเพื่อให้ได้ยินชัดๆผมทำ 3 ตำแหน่งคือ น้อยสุด (ซ้ายสุด) , กลาง และ ,มากสุด (ขวาสุด) ตามนั้นก็แล้วกัน

1. VCO จะเห็นว่ามี 2 OSC
OSC1 จะมีรูปคลื่น 2 แบบให้เลือกคือ saw กับ pulse ส่วนของ
- 1a. PWM (Pulse-width_modulation) จะมีผลเฉพาะตอนเลือกรูปแบบ pulse เท่านั้น สวิตช์ shape ใช้เลือกตัวควบคุม PWM , INT สำหรับกำหนดปริมาณของ Shape ที่มีผลต่อ Pulse-width
OSC2 มีรูปคลื่นให้เลือก 3 รูปแบบ คือ sub หมายถึงคลื่นเสียงแบบเดียวกับ OSC1 แต่ถูกตั้งให้มีค่าต่ำกว่า OSC1 1-2 octave เป็นเทคนิคที่ทำให้เสียง synth แน่น, ส่วน White กับ Pink คือเพิ่ม noise (ไปทำไมฟะ) ให้กับเสียง


2. ส่วนของ LFO มีรูปแบบให้เลือก 3 แบบคือ sine , saw , square
LFO จะมีผลต่อเมื่อเปิดส่วนของ 2a - 2d แล้ว
FREQ คือค่าความถี่ของ LFO
ENV (2a) คือตัวควบคุมความมาก-น้อยของ LFO
ลองฟังดู (อันนี้ใช้ปรับ OSC ขึ้นมาคงที่ และปรับ ENV เพื่อแสดงว่า ENV มีผลต่อความมากน้อยของ LFO)

- 2b.คือตัวควบคุมปริมาณการใช้ค่า LFO เพื่อควบคุม pitch ของ OSC (ความลึกของการแกว่งของ pitch)
ลองฟังดู

- 2c.คือตัวควบคุมปริมาณการใช้ค่า LFO เพื่อควบคุมค่า cutoff ของ VCF (ความลึกของการแกว่งของ cutoff frequency)
ลองฟังดู

- 2d.คือตัวควบคุมปริมาณการใช้ค่า LFO เพื่อควบคุมค่า amplitude ของ VCA
ลองฟังดู





เพิ่มเติม
http://www.phys.unsw.edu.au/jw/sound.spectrum.html

วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2551

เริ่มต้นกันเสียทีกับโลกของการทำเพลงบนคอมพ์ #1

สิ่งสำคัญอันดับแรก ที่ผมคิดว่าถ้าคุณสามารถก็ควรจะอัพเกรดเจ้านี่ก่อนเลย "Sound Card" หรือเรียกภาษาหรูๆในวงการว่า "Audio Interface"
ความสำคัญของเจ้า Sound Card อุปกรณ์ตัวนี้ทำหน้าที่เป็นตัวแปลงสัญญาณจากพลังงานเสียงขาเข้า กลายเป็นข้อมูลเก็บไว้ในคอมพ์ แล้วก็แปลงข้อมูลเสียงจากในคอมพ์ออกมาเป็นไฟฟ้า เพื่อส่งไปที่ลำโพงให้เราได้ยินกัน ความต่างกันระหว่าง Sound Card ราคาถูกๆทั่วๆไปกับ Sound Card สำหรับงานเสียงอยู่ที่ ค่าความหน่วงของสัญญาณหรือ Latency ซึ่งหมายถึงค่าความหน่วงที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการแปลงสัญญาณจาก Analog ไป Digital หรือจาก Digital ไป Analog หน่วยวัดของ Latency มีหน่วยเป็น milliseconds หรือ 1/1000 วินาที ค่ายิ่งน้อยหมายถึงระยะเวลาระหว่างกระบวนการแปลงสัญญาณยิ่งลดลง แต่ปัจจุบันยังไม่มี hardware หรือ chipset อะไรที่สามารถทำให้ค่านี้เป็น 0 ได้
นอกจากนี้ข้อแตกต่างระหว่าง Sound Card ยังมีเรื่องของ chip D/A, A/D converter ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียง ว่าสามารถเก็บรายละเอียดของเสียงได้ดีมีคุณภาพขนาดใหน


ข้อแตกต่างสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับ Sound Card สำหรับงานเสียงคือ ความสามารถในการต่อพ่วงกับอุปกรณ์ด้านเสียงอื่นๆ, จำนวน input - output, มี digital input - output, มี DSP chip ช่วยทำงานแทน CPU, มีช่องสำหรับ mic แบบ XLR, มี phantom power สำหรับ mic แบบ Condensor ตรงนี้มีให้คุณเลือกสรรค์ได้ตามความจำเป็น และกำลังทรัพย์


Sound Blaster Live จาก Creative Labs สำหรับงานด้าน Multimedia และ Entertainment น่าจะเป็น sound card ระดับบ้านๆที่ขายดีที่สุด และถูกแนะนำสำหรับการเอามาใช้ทำงานเสียงระดับเริ่มต้นมากที่สุด


Chaintech AV-710 แบบเดียวกับผม เป็น Soundcard ที่เน้นทางด้านการดูหนัง ใช้ chipset VIA Envy24HT-S แบบเดียวกับที่มีใช้ใน soundcard ของ M-Audio เป็นเหตุผลที่ผมซื้อ (แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะดีเหมือน soundcard แพงๆนะ)


รูปแบบของ Soundcard ในปัจจุบันมีทั้งที่เป็น card แบบ internal (PCI.PCIe) และแบบที่เป็นการเชื่อมต่อภายนอก(port USB, Firewire)


PCI Audio Interface (ขอใช้ Audio interface แล้วกันนะดูโปรดี)

หลังจาก Emu เข้ารวมร่างกับ Creative Labs ก็ได้ออกผลิตภัณฑ์ในซีรี่ส์นี้ เจ้าตัวนี้น่าจะเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าที่สุดในระดับราคาเดียวกัน


USB Audio Interface



Firewire Interface




การเชื่อมต่อแบบต่างๆที่จะพบใน Audio Interface แบ่งได้ 2 ชนิดคือ การเชื่อมต่อแบบ Analog และการเชื่อมต่อแบบ Digital

- TRS (Tip, Ring, and Sleeve) , TS (Tip, and Sleeve)
อันนี้ถ้าเห็นหน้าตาคงคุ้นเคยกันดี มันคือ แจ็คไมค์คาราโอเกะ หรือแจ็คไลน์ (6.3 mm (1/4")) ใช้ใน Audio Interface ระดับเอาจริงเอาจังขึ้นไป
และอีกขนาด 3.5 mm (1/8") ที่เราเรียกกันว่าแจ็คซาวอะเบ้าท์ พบได้ใน Sound on board จนถึง Sound Card ทั่วๆไปที่มีขายตามห้าง IT

TRS


TS



- XLR ส่วนใหญ่จะเจอในรูปแบบของแจ็คไมค์แบบมืออาชีพ หรือการเชื่อมต่อใน Mixer เป็นการเชื่อมต่อแบบที่เรียกว่า Balanced ความพิเศษของการเชื่อมต่อแบบนี้คือเราสามารถลากสายได้ยาวๆโดยที่ยังคงมีคุณภาพเสียงที่ดี มีเสียงรบกวนต่ำ เนื่องจากเป็นการส่งสัญญาณเสียงไปใน 2 เส้นทาง โดยเส้นนึงเป็นสัญญาณแบบปกติ ส่วนอีกเส้นเป็นสัญญาณที่ถูกกลับเฟส เมื่อถึงปลายทางจึงกลับเพสมาเป็นปกติ การทำเช่นนี้ทำให้ส่วนของสัญญาณรบกวนต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างสายหักล้างกันไป จึงเป็นการแก้ปัญหาเสียงรบกวนที่เกิดจากการลากสายยาวๆได้



ใน Audio Interface รุ่นใหม่ๆมักจะมีช่องต่อพิเศษแบบใหม่ เรียกว่า combo jack หรือ XLR and 1/4" TRS combo jack. คือมีความสามารถที่จะใช้ได้กับทั้งการเชื่อมต่อแบบ XLR และ TRS ในตัวเดียว



- RCA เป็นการเชื่อมต่อแบบที่น่าจะคุนเคยกันดีอีกตัวหนึ่ง พบได้ในงานด้านภาพ, วิดีโอ มี 3 เส้น เหลือง - ภาพ, แดง - เสียงขวา, ขาว - เสียงซ้าย หรือในอีกลักษณะนึงจะพบเป็นสี แดง, เขียว, น้ำเงิน สำหรับส่งภาพในงานวิดีโอแบบแยกสี
ส่วนในงานด้านเสียงจะมีเพียง 2 เส้น คือแดง - เสียงขวา และ สีอื่นๆ - เสียงซ้าย




- S/PDIF (Sony/Philips Digital Interface) ข้อมูลจาก wikipedia.org
เป็นการเชื่อมต่อเพื่อรับส่งข้อมูลแบบ Digital ที่มีข้อดีกว่าการรับส่งแบบ Analog คือ (แทบ)ไม่มีความแตกต่างระหว่างสัญญาณต้นทางและปลายทาง (ยกเว้นจะเกิดปัญหา Jitter หรือ Error)
แบ่งเป็น 2 ชนิด

  • Coaxial แม้จะมีหน้าตาเหมือนกับการเชื่อมต่อแบบ RCA แต่มีจุดต่างจากการเชื่อมต่อแบบ RCA ตรงที่สัญญาณที่รับส่งเป็นข้อมูลแบบ Digital

  • Optical เป็นการส่งสัญญาณ Digital ผ่านทาง Fiber Optic





ความรู้เพิ่มเติม
http://en.wikipedia.org/wiki/Audio_and_video_connector
http://www.audioholics.com/education/cables/understanding-digital-interconnects

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2551

เริ่มต้นกันเสียทีกับโลกของการทำเพลงบนคอมพ์ #0

เกริ่นนำ : เมื่อเทคโนโลยีคอมพ์พิวเตอร์พัฒนามาจนถึงขั้นที่สิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ก็เป็นไปแล้ว ในโลกของดนตรีก็ได้รับอานิสงค์ (จริงๆแล้วต้องเรียกว่าผลกระทบ) จากความก้าวหน้าด้านนี้อย่างมากมาย ทั้งในด้านดีและไม่ดี ใครจะเชื่อว่าเราสามารถเก็บเพลงเป็นพันๆหมื่นๆใส่ลงในเจ้ากล่องเล็กๆขาวๆขนาดเท่าฝ่ามือได้ เรามีอุปกรณ์ที่ใช้กันในห้องบันทึกเสียงระดับโลก จำลองอยู่ในเครื่องนับร้อยๆชิ้น โดยที่คุณภาพแทบไม่แตกต่างกับของจริงเลย

เทคโนโลยีด้านเสียงได้เปิดมุมใหม่ๆให้นักสร้างสรรค์ได้เข้าถึงวิธีการสร้างดนตรีได้อย่างมากมาย และเกือบทั้งหมดก็เข้าใจได้ไม่ยากเกินไป ทำไมเราไม่เริ่มสร้างสรรค์อะไรของตัวเอง?


สิ่งที่น่าจะมีสำหรับการเริ่มต้นสู่โลกของ Computer music

  1. ความรู้ด้านทฤษฎี ควรมีกันบ้างซักนิดๆหน่อยๆก็ยังดี
  2. ทักษะการเล่นเครื่องดนตรี ขอซักชิ้นนึงเหอะ กีตาร์, กลอง, ขลุ่ย, โปงลาง, ฆ้องวง อะไรก็เอาเหอะ
  3. คอมพ์ซักเครื่อง แรงแค่ใหน, ออฟชั่นเสริมแค่ใหนตามจิตศรัทธาของญาติโยมเลยท่าน ไม่ต้องขนาดอาวุธนิวเคลียร์ที่เอาไว้รบกับอิหร่านก็ได้ แค่ไม้จิ้มฟันก็เป็นอาวุธได้ ถ้ารู้จักวิธีใช้
  4. ความสนใจ ใคร่รู้
  5. ออฟชั่นเสริมอื่นๆ เช่น เครื่องดนตรี , ลำโพง

-------------------------------------------------

ขยายความนิดนึงสำหรับส่วนของคอมพ์พิวเตอร์ที่เป็น hardware

มาลองดูสเปคคอมพ์ของผม

CPU : AMD AthlonXP 2600+ มือ2
MB : Asus A7V600-X นี่ก็มือ2
Ram : 512MB DDR400
Display Card : Geforce2MX ram 64MB
HD : 80 GB
Soundcard : Chaintech AV710
Headphone : Sennheizer HD202

สเป็คไม่ได้สูงส่งอะไร ใช้มา 4-5 ปีได้แล้ว ถ้าเอาไปขายยกชุดตอนนี้คงได้ไม่ถึง 4พันบาท เลยตัดใจเก็บไว้ใช้ต่อไปดีแล้ว :P
แต่จากตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าใครสเป็คต่ำกว่านี้จะใช้ไม่ได้นะครับ มันใช้ได้ แต่ทำอะไรได้น้อยกว่าแค่นั้นเอง (และมันจะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณต้องตะเกียกตะกายไปซื้อคอมพ์ใหม่ๆแรงๆ)


- การมี CPU แรงๆ หมายความว่าคุณสามารถใส่ realtime effect ได้เยอะขึ้น
- การมี Ram เยอะๆจะช่วยให้โปรแกรมที่ใช้ทำงานได้ดีขึ้น, ลื่นขึ้น
- การมี harddisk ใหญ่ๆ จะทำให้คุณมีที่เก็บไฟล์ได้มากขึ้น ยกตัวอย่างถ้าคุณใช้โปรแกรมพวก Sampler ที่เดี๋ยวนี้มี Library ระดับ gigabyte คุณต้องมีเนื้อที่พอที่จะรองรับมันด้วย



---------------------------------------
ใหนลองเทสหน่อย




Get this widget | Track details | eSnips Social DNA